SUPER EYE FILM
พวกเรา SUPER EYE FILM นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Short Film
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554
คู่มือทำหนังสั้น ฉบับกันเอง (ตอนที่ 5)
...นอก เหนือจากใจเย็นแล้ว ความมีน้ำใจยังสำคัญอีกเช่นกัน ความมีน้ำใจที่ผมว่าก็หมายถึง การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เช่น ถ้าเห็นว่านักแสดงเริ่มเหนื่อย ก็อาจจะถามว่า “พักดื่มน้ำหน่อยไหม?” หรือเมื่อเลิกถ่ายแล้วก็กล่าวขอบคุณทีมงานที่ได้มาช่วยกันทำหนัง การแสดงความรู้สึกเช่นนี้ออกมา จะช่วยตอกย้ำภาพอันน่าประทับใจในตัวคุณไปยังทีมงานทุกๆ คนครับ ถ้าคุณทำหนังเรื่องต่อไปก็หนีไม่พ้นว่าเขาเหล่านี้พร้อมจะมาช่วยคุณอีก
สามประเด็นข้างต้นนี่แหละครับ ที่ผมอยากให้ผู้กำกับใส่ใจไว้ ก่อนหน้าที่จะเริ่มต้น และไม่ละทิ้งมันไประหว่างทาง
ส่วน เรื่องที่อาจจะสงสัยกันว่า การกำกับเขาทำกันยังไง? ผมจะบอกแบบง่ายๆ นะครับ การกำกับก็คือ การดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคนที่เราร่วมงานด้วยออกมา โดยในขณะเดียวกัน เราก็จะต้องดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเราออกมาให้เขาเห็นเช่นกัน แสดงให้ทีมงานเห็นถึงความทุ่มเทของเรา ให้ทุกคนรู้สึกมั่นใจในตัวเรา ถึงค่อยคิดที่จะก้าวต่อไป แล้วเราจะดึงความสามารถของคนอื่นออกมาได้อย่างไรน่ะเหรอครับ? ก็อาศัยการหว่านล้อม ชักจูงด้วยคำพูด ด้วยจิตวิทยา ถ้าจะให้อธิบายรายละเอียดอะไรให้มากกว่านี้ก็คงจะไม่พอหน้ากระดาษน่ะครับ สุดท้ายแล้วเรื่องแบบนี้ก็คงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้กำกับแต่ล่ะคนว่าจะ ทำได้มากแค่ไหน
2.ผู้ช่วยผู้กำกับ อย่าที่เกริ่นไว้ มีหน้าที่เป็น “แขนขา” ของผู้กำกับ เพราะในขณะที่ผู้กำกับกำลังคิดถึงงานที่อยู่ตรงหน้า ผู้ช่วยฯก็จะมาคิดถึงการทำให้งานมันเดินหน้าไปได้ หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือการลดภาระของผู้กำกับลงไป เพราะแทนที่จะต้องมานั่งคิดว่า ต่อไปจะต้องถ่ายฉากไหน แล้วมีใครเข้าฉากบ้าง ฉากนี้ควรจะถ่ายถึงกี่โมงเพื่อให้เสร็จภายในเวลาที่มีอยู่ นักแสดงแต่งหน้าอยู่ เมื่อต้องเข้าฉาก ผู้ช่วยฯก็เป็นคนไปตามนักแสดงนั้นๆ เรื่องเหล่านี้เป็นหน้าที่ของผู้ช่วยแหละครับที่จะต้องคิด
แล้วผู้ ช่วยผู้กำกับต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ประการแรกต้องใจเย็นครับ มีความอดทน เพราะการต้องประสานงานกับหลายๆ ฝ่ายอาจจะทำให้มีเรื่องกระทบกระทั่งบ้าง ก็ต้องขันติเข้าข่มไว้ และอีกอย่างคือ จะต้องมีความตื่นตัวต่อทุกสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่หลุกหลิกไปกับสิ่งเร้าอื่นใด และนอกจากนี้ก็ยังจะต้องมีความคล่องตัว รวดเร็ว ฉับไว และที่สำคัญอีกอย่างคือ จะต้องรู้ทุกอย่างที่ผู้กำกับคิดและรู้เกี่ยวกับหนังที่กำลังทำอยู่ เพราะว่าผู้ช่วยฯจะต้องคอยตอบคำถามแทนผู้กำกับให้แก่ทีมงานฝ่ายอื่นๆ ได้รับรู้
3.ผู้จัดการกองถ่าย หลักๆ คือดูแลเรื่องการเงิน ว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ แล้วคอยให้คำแนะนำ (แกมบังคับ) แก่ทีมงานว่า ควรจะใช้งบเท่าไหร่เพื่อการซื้อหรือทำอะไรสักอย่าง ว่าง่ายๆ ก็คือหน้าที่ควบคุมให้ระบบการเงินในกองถ่ายราบรื่น เป็นไปด้วยความเหมาะสมตามงบที่มีอยู่ หน้าที่นี้จำเป็นจะต้องอาศัยผู้มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน และมีสายตาที่ปราดเปรียวว่องไว เมื่อเห็นอะไรที่ผิดปรกติ เช่น กำลังจะมีคนใช้เงินเกินงบทั้งๆ ที่สามารถประหยัดได้มากกว่านั้น ผู้จัดการกองถ่ายจะต้องรู้ก่อนและแก้ไขได้ทันท่วงที
4.ตากล้อง/ผู้ กำกับภาพ ไม่ใช่แค่เอากล้องมาวางแล้วก็ถ่ายอย่างเดียวนะครับ แต่จะต้องตีความตามบทหนังที่อ่าน และถ้ามีสตอรี่บอร์ดก็ต้องถ่ายตามนั้น โดยที่จะต้องช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อให้ได้ภาพอย่างที่ผู้กำกับต้องการ หรือหากภาพที่วางไว้ในสตอรี่บอร์ดมันเกิดไม่ใช่ นั่นแปลว่าผู้กำกับภาพต้องรู้เรื่ององค์ประกอบภาพ (การวางตำแหน่งวัตถุต่างๆ เวลาอยู่ในเฟรมให้ดูดี) รวมถึงรู้วิธีเลือกใช้ขนาดภาพให้เหมาะสมในคัตที่กำลังถ่ายๆ อยู่ และสามารถหาหนทางอื่นมาเป็นทางออกให้แก่ผู้กำกับได้ แต่แน่นอนว่าสุดท้ายแล้วดวงตาของผู้กำกับภาพ ย่อมจะต้องเป็นดวงตาอันเดียวกับของผู้กำกับ
5.คนบันทึกเสียง สำคัญไม่น้อยกว่าภาพเลย เพราะถ้าเสียงไม่ดีฟังที่ตัวละครพูดไม่รู้เรื่องนี้จบกัน คนบันทึกเสียงไม่ได้แค่ทำหน้าที่บันทึกเสียงอย่างเดียว แต่ยังต้องคอยช่วยผู้กำกับดูว่า ก่อนถ่ายเมื่อไปดูโลเคชั่น ก็จะบอกได้ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับการอัดเสียงเพื่อที่จะแก้ไขได้ หรือระหว่างถ่าย ก็คอยดูว่าช่วงไหนอัดเสียงได้ไม่ได้ เพื่อที่จะสามารถทำให้ได้เนื้อเสียงที่มีคุณภาพดีไปใช้ในการทำงานด้าน post production
6.ผู้กำกับศิลป์ มีหน้าที่ช่วยให้งานฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากได้ดังภาพที่ผู้กำกับคิดไว้ ไม่ใช่แค่เอาของมาวางๆ จัดฉากเท่านั้น แต่เช่นเดียวกับตากล้อง ก็จะต้องมีดวงตาที่เห็นเหมือนผู้กำกับเช่นกัน
แล้วก็ยังมีอีกหลาย หน้าที่ แต่คนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้กำกับจำเป็นจะต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า หนังเรื่องนี้(ที่คุณกำลังช่วยเขาทำงานอยู่) ไม่ใช่หนังของคุณเอง คุณไม่ควรที่จะพยายามยัดบางสิ่งบางอย่างที่คุณชอบไปแต่ผู้กำกับไม่เห็นชอบ นั่นก็คือการเคารพการตัดสินใจของผู้กำกับน่ะแหละครับ และทีมงานก็เหมือนผู้กำกับ หลีกเหลี่ยงการใช้อารมณ์ระหว่างกันได้จะถือว่าดีเลิศที่สุด
เล่าเรื่องการทำหนัง
สมมุติ การทำหนังเรื่องหนึ่งน่ะครับ ฉากที่ตลาด นางเอกมาซื้อส้มทุกคนมาที่เซ็ต ตากล้องเตรียมกล้องปรับภาพและสีให้ตรงตามที่ตั้งใจเอาไว้ ผู้กำกับก็คอยดูแลทุกๆ อย่าง ผู้ช่วยคอยดูว่านางเอกเปลี่ยนชุดตามที่กำหนดไว้ไหม และดูร้านส้มที่ให้เพื่อนซึ่งเป็นอาร์ตเซ็ต แต่เซ็ตฉากล่วงหน้าไม่ได้ก็เลยต้องมาเซ็ตวันนี้นั้น เสร็จเรียบร้อยดีหรือยัง โอเค นางเอกมาแล้ว กล้องพร้อมแล้ว ฉากก็พร้อมแล้ว แล้วพวกตัวประกอบล่ะ? จู่ๆ ผู้กำกับรู้สึกว่าคนที่เดินตลาดทำไมไม่มีคนมาร้านส้มร้านนี้เลยนอกจากนางเอก ก็ต้องไปหาตัวประกอบเพิ่ม คุณจะหา ณ เดียวนั้นก็ได้นะครับแต่บอกไว้เลยว่ามีสิทธิสูงที่จะหาไม่ได้ ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องมองเห็นปัญหาล่วงหน้าก่อนที่มันจะเกิด และแก้ไขซะก่อน ซึ่งในการนี้ก็แปลว่า ผู้ช่วยผู้กำกับสามารถหาตัวประกอบมาเข้าฉากได้
ต่อ ไป ถ้าไม่ได้มีการบล็อกซ็อตและบล็อกกิ้งคิวนักแสดงมาก่อน (กำหนดมุมกล้องและการเคลื่อนไหวของนักแสดงในฉาก) ก็ต้องมาทำ ณ เดี๋ยวนั้น นางเอกเดินไปไหน มาหยุดตรงไหนของร้านส้ม เมื่อรู้ตำแหน่งหยุดของนางเอกที่ร้านส้มแล้ว ผู้ช่วยผู้กำกับต้องไปมาร์คจุดหยุดที่พื้น(โดยอาศัยเทปสี) แปะลงไป ณ จุดนั้น เพราะหากนางเอกหยุดไม่ตรงจุด ก็จะมีปัญหากับองค์ประกอบของภาพและการวางตำแหน่งของบูมได้ (เพราะต้องแรกซ้อมไว้อย่างนั้น แต่พอเล่นจริงอย่างหนึ่ง ทำให้ทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผน) ซ้อมเสร็จก็ถึงค่อยเอาจริง กล้องพร้อมเสียงพร้อม (ควรมีคนถามเซ็ค ซึ่งหน้าที่ตรงนี้ควรเป็นของผู้ช่วยผู้กำกับ) ถ้ายังไม่มีใครพร้อมอย่าเพิ่งสั่งแอ็คชั่นนะครับผู้กำกับ ช่วยตากล้องเองก็อย่าเพิ่งเดินกล้อง ถ้าเป็นกองหนังสั้นเล็กๆ เมื่อเขาถามว่า “กล้องพร้อมไหม?” ถึงค่อยกด record ให้ตัวเลขในกล้องวิ่งไปสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยบอกไปว่า “กล้องพร้อม” (เสียงก็เช่นเดียวกัน)
เริ่มแรกเลยในฉากๆ หนึ่งเราควรที่จะถ่าย master shot หรือซ็อตกว้างๆ ที่เห็นการกระทำทุกอย่างของตัวละครในฉากนั้น เพื่อเอาไว้เป็นหลักในการถ่ายคัตอื่นๆ เช่น ถ่ายเจาะหน้า เจาะมือ เจาะขา เจาะตัวประกอบ โดยที่ทีมงานต้องช่วยกันดู(กรณีไม่มีคนดูแลความต่อเนื่องเฉพาะ) ว่า ฉากที่แล้วนางเอกหยิบส้มจากแม่ค้านี่ ใช้มือซ้ายหรือมือขวา หรือถ้านางเอกเกิดเข้าห้องน้ำ แล้วตอนแรกเธอใส่สร้อยเส้นหนึ่ง ก็ต้องจำให้ได้ว่า เอ๋ ตอนแรกนางเอกใส่สร้อยนี่หว่ามันหายไปไหนล่ะ แล้วก็ไปหาสร้อยเส้นนั้นกลับมาให้นางเอกใส่
ในอีกด้านหนึ่ง ผู้จัดการกองถ่ายก็คอยเตรียมน้ำเย็นๆ ให้ทีมงานดื่มเมื่อเห็นว่าน่าจะเริ่มหิวน้ำกันแล้ว และเมื่อใกล้เที่ยงก็ไปเตรียมอาหารการกิน (อย่าปล่อยให้ทีมงานไปหากินเองเด็ดขาด คุณสมบัติเรื่องน้ำใจจะหมดลงไปในทันที) ถ่ายไปเรื่อยๆ สมมุติในฉากนางเอกต้องโดดแดด โอเค ระหว่างเซ็คฉากหรือกล้องก็หาคนมายืนถือร่มให้นางเอกเสียหน่อย เดี๋ยวนางเอกจะเป็นลมไปก่อน
แล้วเมื่อถ่ายฉากร้านส้มเสร็จแล้ว แผนการทำงานของเราต่อไปเป็นเช่นไร ผู้กำกับก็เรียกผู้ช่วยผู้กำกับมา “เราพอใจฉากนี้แล้ว เดี๋ยวถ่ายไรต่อ?” จากแผนการที่ได้วางไว้ว่า ไปถ่ายฉากนางเอกเดินเข้าปากซอยจะดีที่สุดเพราะใกล้กับที่ถ่ายร้านส้ม โดยที่นางเอกยังคงชุดเดิม โอเค นางเอกไม่ต้องเปลี่ยนซื้อผ้า เพราะฉะนั้นเราก็สามารถย้ายกองไปได้เลย ผู้ช่วยผู้กำกับก็อาจจะบอกทีมงาน “โอเคครับย้ายกอง กรุณาช่วยๆ กันรีบนะหน่อยครับประเดี๋ยวจะไม่ทันกำหนดการเอา”
ถ้าไม่มีปัญหาอะไร งานทุกอย่างก็มักจะเดินไปตามตารางที่ได้วางเอาไว้แล้วเสมอ....
(โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ)
_________________
ข้อมูลจาก www.thaishortfilm.com
คู่มือทำหนังสั้น ฉบับกันเอง (ตอนที่ 4)
ข้อ แม้อีกจิปาถะสำหรับการหาสถานที่ถ่ายทำก็คือ อาจจะต้องเดินทางไปมาสะดวก ไม่ใช่ว่าใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงจากจุดนัดพบของทีมงานเพื่อไปยังที่แห่งนั้น หรือรถเข้าไม่ถึงต้องเดินอีกสามกิโลเมตร อันนี้ก็ถือว่าลำบากไปหน่อย พยายามยึดหลักต่างๆ ดังกล่าวนี้เอาไว้ล่ะกันนะครับ ยามเมื่อต้องหาโลเคชั่น
การเตรียมงานก่อนการถ่ายทำ
ก่อน จะเริ่มงาน ผู้กำกับควรทำการพูดคุยกับทีมงานทุกๆ ฝ่ายก่อนนะครับ พูดง่ายๆ ก็คือต้องประชุมกันก่อนน่ะแหละ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นภาพในหนังที่กำลังจะเปิดกล้องอย่างถ่องแท้ตรง กันทุกคน
การเตรียมงานผมแบ่งเป็นสองแบบครับ สามารถเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของงาน
1.เตรียม งานแบบหนังเล็กๆ คือ ถ้ามีเพื่อนมาช่วยด้วยอีก 5 คน และมีแค่กล้องกับไมค์บูม และนักแสดงสองสามคน มีงบอย่างมากสุดก็ไม่เกิน 5000 บาท การจะมานั่งคุยและเตรียมงานให้ซับซ้อนก็คงจะเป็นเรื่องไม่ถนัด ยิ่งกับคนที่ไม่เคยทำหนังมาก่อน การทำอะไรให้ง่ายที่สุดเข้าไว้อาจจะเหมาะกว่า การประชุมที่ว่านี้จะที่ไหนก็ได้ครับ บ้านคุณบ้านเพื่อน ร้านเคเอฟซีแม็กโดนัลด์ ที่ไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของพ้องเพื่อนทีมงานที่จะมาเจอกันได้ นัดเจอกันสักสองสามครั้ง โดยครั้งแรก มาพบปะหน้าตาว่าทีมงานทั้งหมดแต่ล่ะคนมีหน้าตาเช่นไร และเป็นการแนะนำตัวว่าต่อไปจะต้องทำงานด้วยกันแล้วนะ
แล้วผู้กำกับก็ มอบหมายงานให้แต่ล่ะฝ่ายไปเตรียม แทนที่จะแบกโลกทั้งใบไว้คนเดียว เช่น นัดวันกับตากล้องว่าจะไปดูสถานที่ถ่ายทำและวางแผนการถ่ายทำ ดูตำแหน่งที่มุมกล้องควรจะตั้งอยู่ (ภาษาอังกฤษเรียกว่า Block Shot) ส่วนฝ่ายศิลป์ก็ให้ไปเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉากตามแบบที่ผู้กำกับอยากได้มา มีการกำหนดเวลาถ่ายทำ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานได้เสร็จทันตามกำหนดถ่ายทำนั้น (โดยขณะเดียวกัน กำหนดถ่ายทำก็ต้องวางโดยเล็งเห็นด้วยว่า ฝ่ายศิลป์หรือฝ่ายอื่นๆ จะสามารถเตรียมงานและทำงานของตนได้เสร็จทันเวลาก่อนเปิดกล้อง) แต่ส่วนใหญ่การคุยกันกลุ่มเล็กๆ แบบนี้จะเน้นไปที่การทำความเข้าใจในตัวหนังที่กำลังจะเริ่มถ่ายทำมากกว่าจะ เน้นการแบ่งงาน
2.เตรียมงานแบบหนังใหญ่ อันนี้เหมาะสำหรับหนังสั้นลงทุนๆ หน่อย หลักหมื่นขึ้นไป จะคล้ายๆ แบบแรกแต่ขั้นตอนเยอะกว่า ประมาณว่านอกจากวางแผนวันเตรียมงาน วันประชุม รวมไปถึงวันถ่าย ก็ยังจะมีการแบ่งการประชุมเป็นฝ่ายอาร์ตมาคุยกับผู้กำกับก่อน ฝ่ายกล้องค่อยมาคุยอีกรอบเรื่องมุมภาพ แยกเป็นส่วนๆ ไปแล้วถึงเมื่อหาทีมงานได้ครบในทุกตำแหน่งแล้วถึงค่อยเรียกประชุมทีมงานทั้ง หมด อาจจะมีการ Read throught หรือการอ่านบททั้งเรื่องดูหนึ่งรอบเพื่อเช็คว่าทีมงานมีอะไรสงสัยในบท ภาพยนตร์หรือไม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน จากนั้นถึงค่อยแยกย้ายไปพัฒนางานของแต่ล่ะฝ่าย
ถ้าอย่างฝ่ายศิลป์ นอกจากรับคำสั่งจากผู้กำกับ ก็จะต้องคอยมาขายงาน ด้วยการสเก็ตภาพตัวอย่างของฉากที่จะจัดว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร นำภาพตัวอย่างของสิ่งที่จะประกอบฉากมาให้ผู้กำกับดูก่อน และการขายงานอาจจะมีมากกว่าหนึ่งรอบ จนกว่าจะโดนใจผู้กำกับถึงเริ่มต้นลงมือจัดฉากได้อย่างแท้จริง อาจจะมีการต้องลองเสื้อหรือ Fitting ว่าเสื้อผ้าของนักแสดงนั้นนักแสดงใส่แล้วโอเคไหมอึดอัดหรือเปล่า แล้วโทนสีมันดูเหมาะกับภาพรวมของหนังหรือเปล่า ถ้าไม่ก็ต้องทำการแก้ไขจนกว่าจะได้เสื้อผ้าที่เหมาะสมแก่นักแสดงและตัวหนัง
การ เตรียมงานในแบบนี้ ก็จะต้องมีโปรดิวเซอร์ครับ แล้วโปรดิวเซอร์ทำอะไรล่ะ? ก็คอยดูแลควบคุมให้การผลิตหนังสั้นเรื่องนี้ออกมาได้ราบรื่น คอยช่วยผู้กำกับแก้ไขปัญหาร้อยแปด และช่วยดูแลให้งบประมาณในการสร้างไม่บานปลายออกไป แต่ขณะเดียวกันผู้กำกับก็จะยังคงได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการอยู่
ไม่ ว่าคุณจะเตรียมงานแบบใหญ่ๆ หรือเล็กๆ ข้อสำคัญคือ ในฐานะของผู้กำกับ คุณจะต้องตรวจดูว่างานที่คุณได้มอบหมายทีมงานฝ่ายต่างๆ ไปนั้นมีรายละเอียดมากพอที่จะให้ทีมงานสามารถนำเอาไปใช้ทำงานได้แค่ไหน เพราะนั้นจะเป็นเครื่องชี้วัดว่าหนังของคุณจะออกมาได้อย่างที่คุณคาดหวังเอา ไว้หรือเปล่า และถ้าหากรู้สึกว่ายังไม่พร้อมกัน ก็เลื่อนการถ่ายทำออกไปก่อน จนพร้อมจริงๆ ถึงค่อยลงมือ
และเมื่อทุกอย่างพร้อม ก็คงจะถึงเวลาแล้วสำหรับการ “เปิดกล้อง”
เมื่อต้องเริ่มต้น “เดินกล้อง”
สิ่ง หนึ่งที่ผู้กำกับจะต้องเตรียมตัวก่อนวันถ่ายทำหนึ่งวันก็คือ พักผ่อนให้เพียงพอเสียก่อน ผมเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะมีแน่ อาการที่แบบว่าวิตกกังวล คิดไปเรื่อยว่า “เอ๋ พรุ่งนี้มันจะเจอกับปัญหาแบบนี้ไหมนะ?” หรือว่า “เอ๋ พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือเปล่า?” คุณจะต้องตัดความกังวลทิ้งไป การที่คุณมานั่งเครียดจนถึงกับไม่หลับไม่นอนนั้นไม่ช่วยอะไรเลย ปัญหาใดเมื่อมันจะต้องเกิดมันก็เกิดขึ้นจนได้ ไม่ว่าเราจะเตรียมตัวมาสมบูรณ์พร้อมแค่ไหนก็ตาม การมาก่ายหน้าผากตั้งแต่มันยังไม่เกิดไม่ได้ช่วยอะไร หนำซ้ำยังทำให้เป็นผลร้ายต่อสุขภาพของตัวคุณเองเสียอีก ดังนั้น ก่อนอื่นเลยคุณจะต้องรู้จักปล่อยใจตัวเองให้สบายเสียก่อน
เมื่อเช้า วันแรกของการถ่ายทำมาถึง สิ่งหนึ่งที่คุณควรจะทำ (แต่จะทำหรือไม่ทำก็ได้นะครับ) ก็คือการทำพิธีบวงสรวงเปิดกล้อง แบบที่เราเห็นพวกกองถ่ายหนังกองถ่ายละครทำ แล้วเชิญนักข่าวมาร่วมงานด้วยน่ะแหละครับ เพียงแต่ว่าในฐานะที่เป็นหนังสั้น คุณไม่จำเป็นจะต้องจัดพิธีให้ใหญ่โตก็ได้ อย่างแค่ทำบุญตักบาตร หรือไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เพื่อความเป็นสิริมงคลและความสบายใจของทีมงาน โดยหวังว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยคุ้มครองให้การถ่ายทำลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่เกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมา
ก่อนหนังจะเริ่มถ่าย บางทีผู้กำกับก็อาจจะพูดคุยอะไรกับทีมงานนิดหนึ่ง แบบกึ่งๆ การปลุกใจเล็กน้อย แต่ก็ไม่ถึงกับต้องฮึกเหิมอะไร แต่เป็นในลักษณะให้กำลังใจซึ่งกันและกันมากกว่า เมื่อว่ากันถึง “หน้าที่”
กองถ่ายหนังทุกกองมีคนในตำแหน่งหน้าที่แตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งแยกย่อยได้เป็นดังนี้ครับ
1.ผู้ กำกับ คนนี้สำคัญที่สุด นั้นก็คือคุณน่ะแหละครับ ก่อนหน้านี้ก็เกริ่นมาเล็กน้อยครับว่าผู้กำกับต้องทำอะไรบ้าง แต่นั้นเป็นในส่วนของการเตรียมตัวและเตรียมงาน แต่เมื่อมาอยู่หน้ากอง ผู้กำกับคือผู้ที่กำหนดทิศทางของหนังให้เป็นไปตามใจที่เขาหรือเธอผู้นั้น ต้องการ
โดยสิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับแต่ล่ะคนจำเป็นจะต้องมี ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด นั่นคือสมาธิครับ การจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า งานที่ว่านั้นก็หมายถึง คอยควบคุมนักแสดง กำกับให้เขาแสดงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นไปตามบทบาทที่เราได้สร้างขึ้น และยังรวมไปถึงงานอื่นๆ เช่น การดูว่าตากล้องสามารถถ่ายภาพวางมุมกล้องออกมาได้อย่างที่เคยมีการตกลงกัน ก่อนหน้านี้ไหม หรือว่าเสียงโอเคหรือเปล่า ตัวละครมีบทพูดตรงตามที่เขียนไว้ไหม? จงจำไว้นะครับว่าจะต้องมีสมาธิอยู่ตลอดระหว่างการทำงาน หายไปไม่ได้เลย
อีก อย่างที่ต้องมีนอกเหนือจากสมาธิก็คือความใจเย็นครับ เพราะบางครั้งที่นักแสดงอาจจะแสดงไม่ได้ดั่งใจ หรือของประกอบฉากหาย ทางทีมศิลป์ต้องวิ่งไปหาเอาใช้เวลานาน ไหนจะพวกเสียงรถยนต์วิ่งผ่านโลเคชั่นต้องรอให้เงียบเสียงไปเสียก่อน เจอแบบนี้หากคนไม่อดทนก็มีสิทธิ์น็อตหลุดเอาได้ง่ายๆ เหมือนกัน ฉะนั้นต้องอาศัยเอาน้ำเย็นเข้าลูบตัวเองไว้ตลอดครับ คอยเตือนตัวเองว่า โกรธคือโง่โมโหคือบ้า และการแสดงอารมณ์เสียใส่ใครต่อใครในกองถ่าย อาจจะทำให้ทุกๆ คนในกองถ่ายเกิดอาการจิตตกด้วยกันทั่วหน้า พลอยทำให้บรรยากาศในกองถ่ายเปี่ยมไปด้วยความมาคุ เครียดกันไปหมด แบบนี้ไม่ดีแน่ครับ งานอาจจะยังคงเดินอยู่ แต่สำหรับการที่ต้องร่วมมือกันโดยอาศัยความถ้อยทีถ้อยอาศัย หากไร้ซึ่งตรงนี้แล้วต่อไปโอกาสจะกลับมาร่วมงานกันได้อีกก็คงเป็นไปได้ยาก น่ะครับ เลิกงานแล้วยังยิ้มกันได้จะดีกว่า...(โปรดติดตามตอนต่อไป)
_________________
ข้อมูลจาก www.thaishortfilm.com
คู่มือทำหนังสั้น ฉบับกันเอง (ตอนที่ 3)
ทุนและอุปกรณ์
สำคัญ มากครับ ทุนไม่ได้หมายถึงเงินเท่านั้น เพราะมันมีคำกล่าวหนึ่งที่ว่า เงินไม่สามารถใช้แก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่งบยังรวมสามารถหมายถึงอุปกรณ์ได้ด้วย อย่างคุณไม่มีกล้องวีดีโอเป็นของตัวเอง ก็ต้องไปขอยืมเพื่อนมาถ่าย อันนี้ก็นับได้ว่าเป็นทุนของเพื่อนที่มาร่วมด้วย หรืออย่างใช้บ้านของพ่อแม่เป็นโลเคชั่น ก็ถือว่าพ่อแม่ช่วยเรื่องทุนในแง่ของสถานที่ไป แต่หลักๆ แล้วทุนก็คือ “เงิน” น่ะแหละครับ
อย่าประมาทนะครับ ถ้าคิดว่าไม่มีเงินก็ทำหนังสั้นได้ ในสังคมทุนนิยมแบบนี้ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วคุณก็ต้องใช้เงินอยู่ดีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพียงแต่ว่าจะใช้มากหรือใช้น้อยก็เท่านั้น อย่างตัวผมเอง เคยใช้งบ 500 บาทเพื่อทำหนัง 5 นาทีแต่มีเอฟเฟกต์ภาพสารพัด แต่จริงๆ แล้วที่ประหยัดได้ขนาดนี้เพราะว่าเพื่อนรุ่นพี่ที่ทำด้วยกันนั้น เขามีทั้งกล้องและคอมสำหรับตัดต่อและทำเอฟเฟกต์พร้อม บ้านก็อาศัยบ้านเขาถ่าย นางเอกก็เป็นน้องที่รู้จักกันชวนมาเล่นฟรีๆ ได้ จ่ายก็แต่ค่ารถเดินทางและค่าข้าวเหนียวส้มตำมานั่งกินกันหลังถ่ายเสร็จ
ที่ ผมบอกว่าเงินนั้นสำคัญก็เพราะว่า กองทัพต้องเดินด้วยท้องครับ เงินที่มีนอกจากสำหรับจะซื้อเทปก็ดี จะซื้อของมาเข้าฉากก็ดี อีกอย่างที่ไม่ควรลืมและขาดไม่ได้ก็คือการเลี้ยงข้าวทีมงาน ผู้กำกับอย่ามองว่าทีมงานเป็นเพื่อนเรา ถ้าอดหน่อยจะเป็นไรไป หรือมองว่า “อยากมาช่วยฉันทำหนังเรื่องนี้เอง ฉันไม่มีอาหารเลี้ยงหรอกนะ ไปหาอะไรกินกันเองก็แล้วกัน” ความคิดแบบนี้ไม่ดีครับผมไม่สนับสนุนด้วยเลย ผู้กำกับควรมีเงินเพื่อซื้อข้าวเลี้ยงทีมงานด้วยครับ อาจจะใช้ให้ผู้ช่วยผู้กำกับไปซื้อ เขามาทำงานเขาไม่ได้เงินสักแดงเดียวอยู่แล้ว จึงน่าจะมีการแสดงความซาบซึ้งในน้ำใจตอบแทนอะไรให้แก่เพื่อนของเราบ้างนะ ครับ
เรื่องการใช้เงินในการทำหนังนี่แล้วแต่ความสะดวกของแต่ล่ะคน ครับ มี 500 ก็ใช้ 500 ไม่มี (ทั้งเงินและคน) ก็ถ่ายคนเดียว ถ่ายเองเล่นเองก็ได้หากเรื่องมันสามารถทำได้อย่างนั้น (แต่นั่นแหละครับ ไม่ใช่เรื่องเหมาะสมสักเท่าไหร่ ทางทีดีควรมีเพื่อนมาช่วยจะดีที่สุด) และพยายามวางแผนการใช้เงินให้เป็นระบบนะครับ ใช้เงินให้ถูกจุดไม่ฟุ่มเฟื่อยเกินกว่าเหตุ เมื่อนั้นการทำหนังสั้นก็จะราบรื่นครับ
หาเพื่อนร่วมขบวนการ อย่างที่บอกไป ทำหนังคนเดียวก็ได้แต่มันอาจจะไม่เวิร์คครับ เพราะฉะนั้นการมีทีมงานมาช่วยเรารองรับเรื่องต่างๆ เช่น มีคนนี้มาช่วยถ่าย มีคนนั้นมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ และตำแหน่งอื่นๆ
ทีมงานสำหรับการทำ หนังเรื่องแรกควรจะเป็นเพื่อนครับ เพื่อนที่รู้จักกันดีพอสมควร ยิ่งเคยทำงานร่วมกันยิ่งดี เพราะจะได้มองเห็นว่าอุปนิสัยใจคอของเพื่อนเป็นเช่นไร และทำให้ดูออกว่าเพื่อนสามารถมาช่วยเราทำหนังได้ไหม เพื่อนเมื่อมาช่วยเราแล้ว จะมาทำให้เราทำงานยากหรือง่ายขึ้น เพื่อนจะเชื่อเราในฐานะที่เราเป็นหัวหน้างาน (ผู้กำกับ) และสามารถทำตามที่เราสั่งได้หรือไม่ สรุปคือ การเอาเพื่อนมาช่วยมีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกเพื่อนเป็นหลัก เพื่อนต้องน้อมรับความคิดของเราเพราะมันเป็นหนังของเรา แต่เราก็ควรจะเปิดโอกาสให้เพื่อนแสดงความคิดเห็นบ้างในระดับที่สมควรและไม่ ทำให้งานเสีย
ตำแหน่งต่างๆ ที่กองถ่ายหนังสั้นควรมี มีดังต่อไปนี้
1.ตากล้อง ผู้กำกับไม่ควรถ่ายภาพเองครับเพราะอาจจะทำให้ไม่มีสมาธิต่อการกำกับการแสดง แต่ถ้าหากจำเป็นจริงๆ แบบหาคนมาถ่ายให้ไม่ได้เลย จะถ่ายเองก็ได้ แต่ถ้ามันไม่จำเป็นขนาดนั้นก็ควรให้คนอื่นถ่าย
2.ผู้ช่วยผู้กำกับ เป็นคนที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำงานของผู้กำกับ โดยการช่วยคอยดูนักแสดง คอยดูว่าถ่ายฉากนี้เสร็จ ต่อไปจะต้องถ่ายอะไรต่อ และควรวางแผนการถ่ายทำอย่างไร
3.ผู้จัดการกองถ่าย มาคอยดูแลเรื่องการเงิน การใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่มีอยู่
4.คน บันทึกเสียง ตำแหน่งนี้ก็จำเป็นครับ แต่ก็ขึ้นอยู่ว่าคุณมีอุปกรณ์บันทึกเสียง พวกไมค์บูมไว้ต่อกับกล้องหรือเปล่า หรือคุณซีเรียสกับเรื่องเสียงแค่ไหน ถ้าคุณซีเรียสคุณก็ต้องมีคนบันทึกเสียงครับ
ตำแหน่งอื่นๆ รองลงมาก็ ฝ่ายศิลป์ มาดูแลเรื่องฉากและของประกอบฉาก,ฝ่ายเสื้อผ้า และฝ่ายอื่นๆ ตามแต่จะจัดหาตำแหน่งออกมาได้ ช่วยเรื่องโปรดิวเซอร์ หรือผู้อำนวยการสร้าง หรือจะเรียกว่าดูแลการผลิตก็ได้ ก็แล้วแต่ครับ ส่วนมากหนังสั้นเรื่องแรกผู้กำกับมักเหมาเป็นเองซะเลยเพราะไม่รู้จะให้ใครทำ ตรงนี้ดี
คนที่ทำงานในแต่ล่ะตำแหน่งควรจะรู้หน้าที่ของตัวเองนะครับ เช่น ฝ่ายศิลป์ ก็รู้ดีว่าของประกอบฉากที่ผู้กำกับต้องการให้อยู่ในฉากนั้นๆ มีอะไรบ้าง หรือว่าฝ่ายเสื้อผ้าก็ต้องรู้ว่าในฉากเปิดเรื่อง ผู้กำกับอยากให้พระเอกใส่เสื้อสีอะไร หรือคนบันทึกเสียงก็ควรจะรู้ว่า ฉากนี้มีนักแสดงคนไหนพูดอะไรบ้าง ทุกคนควรรู้หน้าที่ของตัวเองและตั้งใจทำงานครับ ควรมีความเชื่อร่วมกันว่าหนังที่กำลังทำด้วยกันอยู่นี้เป็นหนังของทุกคน ไม่ได้เป็นแค่หนังของผู้กำกับคนเดียวเท่านั้น ผลงานที่เสร็จออกมาจะมีชื่อคุณทุกคน และหากมีข้อผิดพลาดใดๆ ก็ตามในหนังที่เกิดขึ้นเพราะคุณมีส่วน มันก็จะฟ้องออกมาว่าคุณไม่ตั้งใจทำหนัง แต่นั้นยังไม่เท่ากับการที่ผลงานที่ควรจะได้รับการชื่นชมยกย่องมากกว่านี้ กลับก้าวไปไม่ถึงไหน และความฝันของคนตัวเล็กๆ คนหนึ่งก็อาจจะสลายไป
อัน นี้ก็ไม่ควรไปเรียกร้องจากคนทำงานฝ่ายเดียว ผู้กำกับควรมองออกตั้งแต่แรกว่า คนที่เขาชวนมาทำงานตำแหน่งนั้นตำแหน่งนี้ เขาอยากทำจริงๆ หรือเปล่าหรือเขาเหมือนโดนบังคับ ความสมัครใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของงานที่ต้องการความร่วมมือร่วมใจจากทุกๆ คนนะครับ
การคัดเลือกนักแสดง
เมื่อมีทีมงานหลังกล้อง แล้วหน้ากล้องก็ย่อมตามมา (หรือจะสลับกันก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าคนที่มาช่วยอยากเป็นแบบไหน) การหานักแสดงก็คงคล้ายๆ กับการหาทีมงานน่ะแหละครับ จะต้องเป็นคนที่เต็มใจมาทำงานและมีความอยากร่วมด้วยช่วยกันอย่างแท้จริง แต่ข้อแม้เพิ่มเติมที่ต้องการจากนักแสดงก็คือ จะต้องมีความสามารถในการแสดงออก ง่ายๆ ก็คือเริ่มจากจะต้องไม่เกิดอาการ “แข็ง” เมื่อต้องออกมาแสดงตามบทบาทสมมุติ ยิ่งถ้าเป็นเพื่อนเราแล้วมีประสบการณ์ทางด้านการแสดงมาก่อน เล็กๆ ก็แบบละครเวทีที่มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งการเคยเป็นตัวประกอบในหนังโรง มันก็ทำให้งานของคนทำหนังง่ายขึ้นมาอีกเล็กน้อย
แต่ทว่า ถ้าไม่ใช่ แต่เห็นว่าคนๆ นี้เพื่อนเราแม้จะไม่มีประสบการณ์ด้านการแสดงเลย แต่มีความมุ่งมั่นตั้งใจโชว์ฝีมือให้โลกระบือ เอาล่ะ ก็จะลองดูด้วยกันสักตั้งหนึ่ง ก็อาจจะให้ลองแสดงตามบทดู ลองพยายามให้มีการซ้อม (โดยเฉพาะซ้อมร่วมกันของนักแสดงเป็นหมู่คณะ ให้ได้ฝึกการรับส่งบทไปด้วย) ซ้อมให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและมั่นใจ พระเอกนางเอกหากไม่สนิทกัน ก็จับให้มาใช้เวลาอยู่ด้วยกัน ให้ได้สนิทกัน เพื่อที่เวลาแสดงความรักหวานชื่นก็จะได้ทำออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ
การหาสถานที่ถ่ายทำ
มี หลักง่ายๆ ควรจำดังนี้นะครับ 1.ควรเป็นบ้านเรา บ้านญาติ หรือบ้านเพื่อนที่สามารถคุยกันได้ และสามารถทำงานได้ง่ายๆ 2.ถ้าเป็นบ้านคนอื่นอย่างบ้านเพื่อนของเพื่อน ก็ควรคุยกับเจ้าของบ้านให้ดีว่า เราจะถ่ายหนังกันและอาจจะรบกวนการใช้ชีวิตปรกติของคนในบ้าน ควรทำความเข้าใจกันก่อนไม่งั้นจะซวยได้ภายหลัง
3.ควรเป็นสถานที่ๆ มีความเงียบสงบพอจะถ่ายหนังได้ ไม่มีการก่อสร้างที่บ้านข้างๆ เพราะการที่เราจะไปขอให้เขาหยุดทำงานเพื่อให้เราทำงานได้เป็นเรื่องที่ยาก ยิ่ง 4.เป็นสถานที่ๆ ตรงกับในจินตนาการที่เราได้คิดไว้.... (โปรดติดตามตอนต่อไป)
_________________
ข้อมูลจาก www.thaishortfilm.com
คู่มือทำหนังสั้น ฉบับกันเอง (ตอนที่ 2)
.....ความ เชื่อที่ว่านั้นก็คือ เชื่อว่าเรื่องที่คุณคิดนั้นจะต้องมีพลังออกมาและส่งผลไปยังความรู้สึกนึก คิดของคนที่คุณอยากให้มาดูหนังของคุณ ให้เขาหัวเราะ,ร้องไห้ หรือฮึกเหิมเปี่ยมด้วยกำลังใจ จนกระทั่งเมื่อหนังจบก็ได้ซึบซับเอาสาระต่างๆ ที่คุณสอดแทรกเอาไว้ในหนังไปโดยไม่รู้ตัว รวมไปถึงเชื่อมั่นในตัวเองว่าเรื่องที่กำลังทำอยู่นั้นน่าสนใจจริงๆ และเชื่อว่ามันได้กลั่นกรองมาจากก้นบึ้งของหัวใจคุณแล้วจริงๆ การมีความเชื่อเช่นนี้ คุณสามารถทำหนังอะไรก็ได้ทุกแบบครับ ตามรูปแบบข้างต้นก็จะตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 3 นั่นแหละ คือ แม้แต่เรื่องที่แต่งด้วยจินตนาการของคุณ สร้างโลกอุปโลกน์ขึ้นมาจากอากาศธาตุ ถ้าคุณทำหนังอย่าง Lord of the ring เมื่อคุณมีความเชื่อ คุณก็สามารถทำให้คนอื่นเชื่อได้ว่ามัจฉิมโลกมีอยู่จริง แต่...สุดท้ายก็ต้องมีคำว่าแต่ การมีประสบการณ์ร่วมหรือการมีความเชื่อในเรื่องที่จะเล่าอย่างเต็มเปี่ยม ก็อาจจะไม่ได้ทำให้คุณสามารถทำหนังในแบบที่คุณอยากทำได้อย่างสมบูรณ์พร้อม โดยแท้จริง เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ก็เพราะความเป็นจริงอย่างไรล่ะ
ความ เป็นจริงจากปัจจัยรอบๆ ตัวคุณ เช่น คุณมีกล้อง มีไมค์บูมสำหรับอัดเสียง มีทีมงานสองสามคน มีบ้านหนึ่งหลัง และเพื่อนอีกไม่กี่คนที่พร้อมจะแสดงให้ ข้อจำกัดมากมายมักชอบมาบีบให้ความคิดสร้างสรรค์ของคนทำหนังต้องหดแคบลง อย่างเช่น หากคุณเล่าเรื่องของตัวเอง และมีฉากที่คุณอยู่ในงานฉลองปีใหม่และเป็นฉากสำคัญต่อเรื่อง เพราะในฉากนี้คุณจะต้องโดนหักอกในขณะเดียวกันคุณก็จะพบรักใหม่ แต่คุณกำลังถ่ายหนังช่วงกลางปี และไม่อาจจะรออีก 6 เดือนเพื่อถ่ายฉากนี้ได้ เพราะนักแสดงอาจจะตัดผม อาจจะไปเรียนต่อเมืองนอก และงบประมาณการสร้างอาจจะถูกใช้หมดไปเสียก่อน แล้วที่นี่จะทำไงดีล่ะ
ก็ มาสู่ข้อเท็จจริงที่ว่า บางครั้งคนทำหนังที่ดีก็ต้องคิดเรื่องและเขียนบทให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และข้อจำกัด ในขณะที่ก็ยังสะท้อนตัวตนและเล่าเรื่องในแบบที่อยากเล่าได้ สามารถรักษาสมดุลของตาชั่งทั้งสองข้าง ผมเองขอยอมรับว่ามันอาจจะเป็นเรื่องยากเสียหน่อย แต่ถึงอย่างไรก็หนีไม่พ้นที่จะต้องทำน่ะครับ แปลว่าเมื่อเริ่มต้นทำหนังสั้นเรื่องแรก ความ “เอาแต่ใจตัวเอง” และความยึดมั่นถือมั่นในการจะเห็นในสิ่งที่อยากเห็นปรากฏบนหนังตนเอง หรือใส่สิ่งที่ชอบลงไปในเนื้องานของผู้กำกับไม่ควรมีมากจนเกินไป
จากโครงเรื่องเดินสู่การเป็นบท
เมื่อ สามารถคิดและเขียนเรื่องโดยรู้จักที่จะประนีประนอมกับตัวเองได้แล้ว ก็มาสู่ขั้นการเขียนบท ทุกอย่างในขั้นตอนนี้จะง่ายขึ้นเมื่อคุณมีโครงเรื่องที่เรียบร้อยดีอยู่แล้ว คุณก็แค่ยึดเอาโครงเรื่องนี้มาไว้กับตัว และจำหลักการง่ายๆ ดังต่อไปนี้ที่คุณควรจะยึดติดเอาไว้
1.จำไว้เสมอว่าตัวเองกำลังเล่า เรื่องเกี่ยวกับอะไร หมายความว่าพยายามยึดเรื่องให้อยู่กับประเด็นหลักเอาไว้ เพราะว่ามีคนทำหนังมากมายที่หลงทางไปกับประเด็นแยกย่อย หรือเพิ่มเติมเนื้อหาบางอย่างเข้าไปทั้งๆ ที่มันไม่ได้ส่งผลใดๆ กับเรื่องราวที่กำลังเล่าอยู่เลย ยิ่งเป็นหนังสั้นด้วยแล้ว การเดินเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างมั่นคงยิ่งเป็นเรื่องจำเป็น
ยก ตัวอย่าง ถ้าคุณกำลังเล่าเรื่องของชายคนหนึ่งที่ตกหลุมรักหญิงสาวคนหนึ่ง และจีบเธอโดยการส่งดอกไม้ทุกวัน คุณอาจจะขยายเรื่องราวว่า ชีวิตชายหนุ่มคนนี้เป็นอย่างไร เพื่ออธิบายว่าทำไมเขาถึงมาชอบหญิงสาวคนนี้ และอาจจะอธิบายเกี่ยวกับตัวหญิงสาวได้ว่า ชีวิตของเธอเป็นอย่างไรและทำไมเธอถึงกลายมาเป็นคนที่ชายหนุ่มหลงรัก แต่เรื่องจะหลงทางทันทีหากคุณไปเล่าเรื่องของแม่พระเอก หรือพ่อของนางเอก โดยที่มันไม่ได้ส่งผลใดๆ ต่อการที่พระเอกตามจีบนางเอก เว้นแต่ว่าจะเป็นเรื่องความรักของรุ่นพ่อรุ่นแม่ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับความรักของรุ่นลูกด้วยได้
การเล่าเรื่อง ที่ออกนอกประเด็นนั้นจะนำพามาทั้งความสับสนแก่คนดูว่า ตกลงแล้วคนทำหนังพยายามจะบอกอะไรกันแน่ ยังอาจจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายเล็กน้อยขึ้นมาอีกด้วย การแก้ปัญหาตรงนี้นอกจากจะขึ้นอยู่กับการวางโครงเรื่องรัดกุมแล้ว ยังอยู่ที่การเขียนบทที่มีสมาธิอีกด้วย
2. เดินเรื่องไปข้างหน้าอยู่ตลอด อย่างที่เกริ่นไว้ในหัวข้อการคิดเรื่อง การที่ทำให้เรื่องเดินหน้าไปตลอดนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหนังที่ต้องการให้คนดูได้รับความบันเทิง ยกตัวอย่างเช่น หากเราปูเรื่องไว้แล้วว่าพระเอกทำงานออฟฟิตที่น่าเบื่อหน่าย เพื่อนๆ ไม่ชอบหน้าเขา การบอกเล่าตรงนี้ควรจะเป็นแค่ครั้งหรือสองครั้งก็ได้ แต่หากมีบ่อยๆ ซ้ำๆ เกินควรอาจจะทำให้คนดูรู้สึกเบื่อหน่ายเรื่องที่กำลังดูอยู่ และพาลหมดความสนใจแก่ตัวหนังทั้งเรื่องไปได้
3.การยึดหลัก 3 องค์ ปรกติถ้าเป็นตำราเขียนบท เรื่องของ 3 องค์มักจะมาเป็นลำดับแรก แต่สำหรับผม ผมมองว่าเรื่องของโครงสร้างการเขียนบทนั้น มันยังจำเป็นน้อยกว่า 2 หัวข้อก่อนหน้านี้ หลัก 3 องค์ที่ว่าซึ่งคนที่เรียนเขียนบทหนังหรือบทละครมาก็คงจะรู้จักกันดีนะครับ
องค์ แรกก็คือการปูเรื่อง เปิดตัวละคร จนเกิดเหตุการณ์พลิกผันกับตัวละคร นำไปสู่องค์ที่ 2 เช่น พระเอกเป็นพนักงานออฟฟิตธรรมดา โดยเจ้านายกดขี่ แฟนแอบนอกใจไปเป็นชู้กับเพื่อน แล้วจู่ๆ ก็มีคนเดินมาบอกว่า เขาคือสุดยอดนักฆ่าที่มีพลังมหาศาล และอยากชวนเขาเข้าร่วมองค์กร และพระเอกได้เจอฝ่ายเหล่าร้ายตามไล่ล่า จนตัดสินใจว่าจะต้องเข้าร่วมกับองค์กรนี้
องค์ที่สองก็คือส่วนกลาง เรื่อง เล่าเรื่องที่ปูไปสุดจุดหักเหอีกครั้งก่อนจะเข้าส่ climax (ช่วงจบ) ตัวอย่างเช่น พระเอกมาฝึกฝนการต่อสู้กับองค์กรที่ชวนเขามาเข้าพวกจนสำเร็จสุดยอดวิชา แต่กลายเป็นว่าองค์กรนี้แท้จริงชั่วร้าย เลยต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรระหว่างหนีไปหรือทำลายองค์กรนี้
องค์ ที่สามก็คือบทสรุปของเรื่องน่ะแหละครับ ตัวอย่างก็เช่น พระเอกตัดสินใจจะไม่หนีและสู้กับองค์กรร้าย การต่อสู้ดุเดือดเลือดพล่านแต่สุดท้ายพระเอกก็เป็นฝ่ายกุมชัยชนะ เรื่องจบลงโดยการที่พระเอกตัดสินใจใช้ความสามารถของตนผดุงคุณธรรม
คุณ สามารถนำหลัก 3 องค์ไปปรับใช้ได้กับการเล่าเรื่องทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะโรแมนติก สยองขวัญ หรือหนังแอ็คชั่นเลือดท่วม จนเมื่อคุณแม่นกับการทำหนังตามหลัก 3 องค์แล้ว คุณก็สามารถจะ “แหกกฎ” โดยการไม่ทำตามนี้เลยก็ได้ เพราะมันอาจจะนำมาซึ่งสิ่งแปลกใหม่และสร้างสรรค์ แต่ก่อนหน้านั้น มันก็เหมือนกับที่เขาว่ากันว่า ก่อนจะวิ่งได้ต้องหัดเดินก่อนน่ะแหละครับ เพราะถ้าเกิดยังเดินไม่ได้แล้วมาวิ่งเลยนี่ โอกาสที่จะสะดุดหกล้มหัวคะมำก็เป็นไปได้สูงทีเดียว
4. เขียนให้คนอื่นๆ สามารถเห็นภาพตามไปด้วยได้ คนทำหนังทุกคนไม่ควรทำหนังคนเดียวครับ เพราะว่ามันเป็นไปได้ยากเหลือเกินที่จะสามารถทำเช่นนั้นได้เพราะไหนจะต้องมี สมาธิกับการกำกับ มีสมาธิว่าต่อไปจะต้องถ่ายฉากอะไรต่อ จะพักกินข้าวตอนไหน จะวางมุมกล้องยังไง ฯลฯ สารพัดครับ การเขียนบทที่สามารถทำให้เพื่อนร่วมงานเข้าใจได้ง่าย มองเห็นภาพในหนังได้ตรงกัน และทำให้การทำงานง่ายขึ้น
แต่ถ้าถามว่า เขียนอย่างไรถึงจะให้เป็นเช่นนั้นได้ อธิบายง่ายๆ เลยนะครับ ก็คือ อย่างเช่น ฉากที่พระเอกเดินเข้ามาในห้อง มันอาจจะมีรายละเอียดด้วยว่า “พระเอกเปิดประตูเข้ามาในห้อง เดินเข้ามาแล้วก็ปิดประตู จากนั้นก็เดินผ่านกองหนังสือเก่าที่วางระเกะระกะ ตรงเข้าไปนั่งที่โซฟาสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากประตูสักเท่าไหร่ ข้างๆ โซฟามีหน้าต่าง มองออกไปเห็นท้องฟ้าสีคราม พระเอกเมื่อนั่งลงแล้ว เขาก็นั่งนิ่งไม่ได้ทำอะไร”
ถ้าเพื่อนร่วมทีมมาอ่าน คนที่ต้องมาจัดของประกอบฉากก็จะสามารถมองออกว่า ต้องมีอะไรอยู่ในฉากบ้าง (เช่น หนังสือเก่าและโซฟา) และนักแสดงก็จะรู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไรบ้าง อาจจะต้องอาศัยการกำกับเพื่อให้นักแสดงเข้าใจบทขึ้นมาอีกนิดหน่อย แต่ก็ถือว่าบทช่วยลดขั้นตอนต่างๆ ลงไปได้เยอะทีเดียว
เมื่อเขียนบท เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาสู่สิ่งสำคัญเรื่องต่อไปที่คุณจะต้องทำเพื่อให้ได้หนังสั้นหนึ่งเรื่อง นั้นคือ ทุน อุปกรณ์ และกำลังคน… (ติดตามตอนต่อไป)
_________________
ข้อมูลจาก www.thaishortfilm.com
คู่มือทำหนังสั้น ฉบับกันเอง (ตอนที่ 1)
เชื่อ ว่าหลายๆ คนคงจะรู้จัก “หนังสั้น” กันเป็นอย่างดี แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า หากวันหนึ่งนั่งเล่นนอนเล่นแล้วอยู่ดีๆ อยากทำหนังสั้นขึ้นมาสักเรื่องแล้วล่ะก็ จะต้องเริ่มต้นอย่างไร
ก่อน อื่นต้องขอบอกก่อนว่า นี่ไม่ใช่ตำราที่เต็มเปี่ยมอัดแน่นไปด้วยข้อมูลเชิงวิชาการ แต่เป็นการแบ่งปันประสบการณ์การทำหนังสั้น จากตัวผมเองซึ่งก็เคยผ่านและเป็นพยาน ในฐานะของผู้ร่วมออกกองของการทำหนังสั้นทุกรูปแบบ ตั้งแต่แบบคนไม่มีตังค์เลยสักแดงเดียว ไปจนถึงการถ่ายทำกล้องฟิล์ม 35 มม. ด้วยอุปกรณ์ชั้นเลิศ ไม่ว่าผู้กำกับจะเป็นชายหนุ่มไฟแรง หรือหญิงสาวที่จิตใจเริ่มสงบนิ่ง เป็นการเล่าสู่กันฟังถึงเรื่องราวต่างๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่คนที่ได้อ่านบ้าง ว่ากว่าจะทำหนังสั้นออกมาได้เรื่องหนึ่งนั้น จะต้องนำเอาอะไรมาประกอบรวมกันบ้าง ข้อจำกัดและทุนรอนที่แต่ละคนมีไม่เท่ากัน จะทำให้สามารถสร้างหนังสั้น “ได้ใกล้เคียง” หรือ “ใช่” ในแบบที่อยากทำได้มากน้อยแค่ไหน หากเปรียบสิ่งนี้เป็นการขี่จักรยานครั้งแรกของคุณ คู่มือฉบับนี้ก็เป็นเหมือนคนที่จะคอยพยุงจนกว่าที่คุณจะสามารถขี่เองได้ อย่างมั่นคง
เพื่อที่ต่อไปในวันข้างหน้า คุณจะสามารถเริ่มออกแรงขี่จักรยาน โดยไม่ต้องพึ่งพาใครอีกต่อไป
คำนิยามของ “หนังสั้น”
หนัง สั้นก็มีจุดกำเนิดพร้อมกันกับหนังโรงที่เราดูกันเป็นปรกติทุกวันนี้แหละครับ หนังเรื่องแรกของโลก เมื่อคนยุคสมัย 100 กว่าปีก่อนได้เข้าไปในสถานที่แห่งหนึ่ง และได้เห็นภาพที่ตัวเองไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นคือรถไฟค่อยๆ จอดเทียบชานชาลา พวกเขาเชื่อว่าตนเองเกือบจะโดนรถไฟชนซะแล้ว! นั้นแหละครับคือจุดเริ่มต้นของคำว่า “ภาพยนตร์” หนึ่งในมหรสพที่คนทุกผู้ทุกนามไม่อาจจะปฎิเสธได้ในวันนี้
แล้วหนัง สั้นคืออะไร? ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดิน หนังสั้นก็คือหนังที่ไม่ยาว ผมเชื่อว่าหากใครตอบแบบนี้ก็ไม่น่าจะผิด แม้แต่หนังเรื่องแรกของโลกที่ผมได้กล่าวถึงไป ก็เป็นหนังสั้น มันมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ดำเนินและจบลงอย่างรวดเร็ว หนังสั้นทั้งหมดมักจะมีเรื่องราวหลักเพียงเรื่องเดียว
ถ้าเป็นไปใน นิยามโดยคนยุคนี้ ก็มักจะกำหนดให้หนังสั้นยาวไม่เกิน 30 หรือ 40 นาที เพราะเชื่อว่าเป็นความยาวที่พอเหมาะ แต่ถ้าหากสงสัยว่าแล้วหนังสั้นจะ “สั้น” ได้มากที่สุดเท่าไหร่ เพราะบางคนเชื่อว่าหนังสั้นที่สุดอย่างน้อยก็ควรยาวกว่า 15 วินาที แต่เชื่อไหมว่า คุณสุรพงษ์ พินิจค้า เคยทำหนังที่มีความยาวเพียง 4 เฟรมมาแล้ว คำถามต่อมาก็คือ แล้วจะดูรู้เรื่องไหมนั่น? ไม่มีกติการตายตัวว่าหนังสั้นจะต้องดูแล้วรู้เรื่องหรือเปล่า เพราะ เล่าเรื่องในลักษณะใดก็ได้ ทำได้แม้กระทั่งเป็นเพียง Concept หรือบอกอะไรบางอย่างให้แก่คนดูโดยที่คนดูก็ไปคิดไปตีความกันเอาเอง
ถ้า พูดถึงหนังสั้นในบ้านเรา แนวทางที่นิยมสร้างกันก็ไม่ได้มีหลากหลายอะไร เช่น โรแมนติก (นักศึกษาภาพยนตร์ดูเหมือนจะชอบทำแนวนี้มากที่สุด น่าจะเพราะได้อิทธิพลจากหนังรักเกาหลี),สยองขวัญ,ตลก,แอ็คชั่น และหนังทดลอง หนังที่เป็นการลองนำเสนอภาพและเสียงด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อดูว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แต่สำหรับหนังทดลองแล้ว ลำพังแค่เอากล้องไปถ่ายเหวี่ยงๆ แปลกๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นหนังทดลองแล้ว แต่คนทำจะต้องรู้ด้วยว่ากำลังพยายามทำอะไร หรือกำลังพยายามทดลองอะไรอยู่
สำหรับ มือใหม่ที่อยากทำหนังสั้น ผมขอแนะนำให้เริ่มต้นจากการทำหนังสองแบบ คือหนึ่ง หนังเล่าเรื่องปรกติที่เล่าเรื่องง่ายๆ และสองคือ หนังสารคดี แต่ด้วยเหตุผลอะไรนั้น ก็ต้องติดตามจากบทต่อไปครับ
กระบวนการคิดให้เป็นเรื่อง
การ คิดเรื่องมันไม่ยากหรอกครับ ก่อนอื่นอยากให้เริ่มต้นด้วยการเขียนโครงเรื่องสักหนึ่งหน้ากระดาษก่อน เล่าว่าในหนังสั้นที่เรากำลังจะทำนี้ มีเหตุการณ์อะไรบ้าง ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ แบ่งเป็นฉากๆ ก็ได้ครับ ฉากที่ 1 ไปจนกระทั่งกี่ฉากก็ว่าไป แต่ล่ะฉากก็ให้มีการเดินเรื่องไปข้างหน้าตลอดไม่ย่ำตัวเองอยู่กับที่ แต่ก่อนที่จะเริ่มคิดและเขียนเรื่องขึ้นมา ก็อยากจะให้ทุกคนทราบถึงหลักของการเล่าเรื่องเสียก่อน
หลักง่ายๆ ของการเริ่มต้นอยากจะเล่าเรื่องอะไรสักอย่างให้แก่คนทั่วๆ ไปได้รับรู้กันนั้น จริงๆ แล้วไม่ว่าหนัง,ละคร,นิทาน หรือนวนิยาย ต้นกำเนิดของเรื่องเล่ารูปแบบต่างๆ เหล่านี้มีไม่มากนัก
1.เล่าเพราะ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น นาย ก.เดินทางไปในป่าเพื่อล่าสัตว์ และพบสิงโตตัวหนึ่งกำลังไล่ล่ากวาง ในระหว่างที่นาย ก. กำลังมองดูเหตุการณ์นี้ จู่ๆ สิงโตก็หันไปเห็นนาย ก.และวิ่งไล่ใส่นาย ก.แทน ฝ่ายนาย ก. เมื่อเห็นดังนั้นก็เลยรีบวิ่งโกยไม่คิดชีวิต เมื่อเขารอดมาได้ ไม่ว่าเจอหน้าใครเขาก็อดไม่ได้ที่จะเล่าเรื่องนี้ให้แก่คนผู้นั้นฟัง เรื่องเล่าประเภทนี้ ผู้เล่ามักจะมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องที่ตนเองเล่าไปด้วยเป็นอย่างมาก พูดง่ายๆ ก็คือมี “ประสบการณ์ร่วม” หรือใกล้ชิดกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นๆ อย่างแท้จริง
2.เล่าเพราะเห็นเจอมา แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับตัว เช่น นาย ข. ขึ้นรถเมล์ที่เบียดเสียด แล้วได้ไปเจอผู้ชายลุกให้เด็กนั่ง มันเป็นเหตุการณ์อันน่าประทับใจจนเขาต้องเล่าให้เพื่อนของเขาฟัง เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องที่กระทบความรู้สึกของคนเล่ามากเท่ากับเรื่องแบบ แรก แต่ก็เป็นเรื่องที่โดนใจเขาได้หากลึกๆ แล้วมันเป็นประเด็นที่เขาอ่อนไหว เช่น นาย ข.โดยปรกติแล้วชอบช่วยเหลือคนที่อ่อนแอ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงสร้างความรู้สึกแก่เขา
3.เล่าเพราะจินตนาการ พูดง่ายๆ ก็คือเรื่องแต่งแบบ 100 เปอร์เซ็นต์เต็มน่ะแหละครับ อย่างพ่อที่เล่านิทานที่แต่งขึ้นมาเดี๋ยวนั้นให้ลูกฟังก่อนนอน เรื่องแบบนี้จะมีประสบการณ์ร่วมหรือรู้สึกไปกับเหตุการณ์น้อยกว่าเรื่องแบบ ที่สอง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าด้อยค่าไปกว่ากันเลย เพราะว่าเรื่องเล่าแบบนี้สามารถสร้างความอยากติดตามให้แก่ผู้ฟังได้ หากตัวคนเล่าเองเปิดใจเชื่อในสิ่งที่ตัวเองกำลังเล่าอยู่แบบหมดเปลือก
4.เล่า เพราะจำเป็นจะต้องเล่า แบบเด็กนักเรียนที่ต้องไปยืนพูดหน้าชั้นเรียน แล้วเล่าเหตุการณ์อะไรสักอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ก็จะเล่าแบบสะดุดเป็นห้วงๆ และไม่น่าสนใจไม่น่าติดตาม เรื่องเล่าแบบนี้หมดสิ้นทั้งความเชื่อในสิ่งที่กำลังเล่าอยู่ของตัวผู้เล่า เอง และความมีอารมณ์ร่วมหรือรู้สึกตามไปกับเรื่องที่เล่านั้นๆ
จะ เห็นได้ว่าจากหัวข้อที่ผมยกขึ้นมาข้างต้น ผมได้เน้นคำว่า “ประสบการณ์ร่วม” และ “ความเชื่อ” มากเป็นพิเศษ เพราะผมเชื่อว่านี่แหละครับ สองสิ่งนี้แหละคือหัวใจสำคัญของการสร้างงานศิลปะใดๆ ก็ตามบนโลกให้ประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ แม้กระทั่งสำหรับหนังสั้นก็ตาม แต่ผมอยากจะให้ก่อนเริ่มต้นที่จะคิดเรื่องเพื่อจะทำหนังสั้นสักเรื่อง สำหรับมือใหม่หัดทำ ควรจะเริ่มต้นด้วย “ประสบการณ์ร่วม” กับเรื่องก่อน หมายถึงว่าเขารู้สึกพิเศษหรือใกล้ชิดกับเรื่องที่กำลังเล่า คือในรูปแบบการเล่าเรื่องจะต้องอยู่ระหว่างข้อ 1 หรือ 2 ก่อน
เพราะ การเริ่มด้วยเรื่องที่ตัวเองรู้จัก เข้าใจ และมีจดจำรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงที่น่าสนใจนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น หากคุณเป็นคนที่มีปมปัญหากับพี่หรือน้อง ทะเลาะกันด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ คุณก็อาจจะได้งานน่าสนใจสุดๆ จากการนำเรื่องเหล่านั้นมาเล่าผ่านหนังของคุณ หรือหากคุณเป็นพนักงานออฟฟิตที่โดนเจ้านายกดขี่และเป็นทุกข์ด้วยปัญหาต่างๆ คุณก็สามารถนำเอาเหตุการณ์นั้นๆ มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นชั้นดีในการทำหนังของคุณ
แต่มันก็ยังเป็นแค่ “องค์ประกอบหนึ่ง” เท่านั้นนะครับ เพราะอีกองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการเริ่มคิดเรื่องก็คือคุณจะต้องมี “ความเชื่อ” เป็นอย่างยิ่งกับเรื่องที่คุณจะเล่า แม้ว่าหากเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับคุณ แต่ถ้าคุณไม่มีความเชื่อในการที่จะถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างน่าสนใจ มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะทำหนังเรื่องนั้นๆ ขึ้นมา ความเชื่อที่ว่านั้นก็คือ เชื่อว่าเรื่องที่คุณคิดนั้นจะต้องมีพลังออกมาและส่งผลไปยังความรู้สึกนึก คิดของคน (โปรดติดตามตอนต่อไป)
_________________
ข้อมูลจาก www.thaishortfilm.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)