คู่มือทำหนังสั้น ฉบับกันเอง (ตอนที่ 4)
ข้อ แม้อีกจิปาถะสำหรับการหาสถานที่ถ่ายทำก็คือ อาจจะต้องเดินทางไปมาสะดวก ไม่ใช่ว่าใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงจากจุดนัดพบของทีมงานเพื่อไปยังที่แห่งนั้น หรือรถเข้าไม่ถึงต้องเดินอีกสามกิโลเมตร อันนี้ก็ถือว่าลำบากไปหน่อย พยายามยึดหลักต่างๆ ดังกล่าวนี้เอาไว้ล่ะกันนะครับ ยามเมื่อต้องหาโลเคชั่น
การเตรียมงานก่อนการถ่ายทำ
ก่อน จะเริ่มงาน ผู้กำกับควรทำการพูดคุยกับทีมงานทุกๆ ฝ่ายก่อนนะครับ พูดง่ายๆ ก็คือต้องประชุมกันก่อนน่ะแหละ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นภาพในหนังที่กำลังจะเปิดกล้องอย่างถ่องแท้ตรง กันทุกคน
การเตรียมงานผมแบ่งเป็นสองแบบครับ สามารถเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของงาน
1.เตรียม งานแบบหนังเล็กๆ คือ ถ้ามีเพื่อนมาช่วยด้วยอีก 5 คน และมีแค่กล้องกับไมค์บูม และนักแสดงสองสามคน มีงบอย่างมากสุดก็ไม่เกิน 5000 บาท การจะมานั่งคุยและเตรียมงานให้ซับซ้อนก็คงจะเป็นเรื่องไม่ถนัด ยิ่งกับคนที่ไม่เคยทำหนังมาก่อน การทำอะไรให้ง่ายที่สุดเข้าไว้อาจจะเหมาะกว่า การประชุมที่ว่านี้จะที่ไหนก็ได้ครับ บ้านคุณบ้านเพื่อน ร้านเคเอฟซีแม็กโดนัลด์ ที่ไหนก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของพ้องเพื่อนทีมงานที่จะมาเจอกันได้ นัดเจอกันสักสองสามครั้ง โดยครั้งแรก มาพบปะหน้าตาว่าทีมงานทั้งหมดแต่ล่ะคนมีหน้าตาเช่นไร และเป็นการแนะนำตัวว่าต่อไปจะต้องทำงานด้วยกันแล้วนะ
แล้วผู้กำกับก็ มอบหมายงานให้แต่ล่ะฝ่ายไปเตรียม แทนที่จะแบกโลกทั้งใบไว้คนเดียว เช่น นัดวันกับตากล้องว่าจะไปดูสถานที่ถ่ายทำและวางแผนการถ่ายทำ ดูตำแหน่งที่มุมกล้องควรจะตั้งอยู่ (ภาษาอังกฤษเรียกว่า Block Shot) ส่วนฝ่ายศิลป์ก็ให้ไปเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉากตามแบบที่ผู้กำกับอยากได้มา มีการกำหนดเวลาถ่ายทำ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานได้เสร็จทันตามกำหนดถ่ายทำนั้น (โดยขณะเดียวกัน กำหนดถ่ายทำก็ต้องวางโดยเล็งเห็นด้วยว่า ฝ่ายศิลป์หรือฝ่ายอื่นๆ จะสามารถเตรียมงานและทำงานของตนได้เสร็จทันเวลาก่อนเปิดกล้อง) แต่ส่วนใหญ่การคุยกันกลุ่มเล็กๆ แบบนี้จะเน้นไปที่การทำความเข้าใจในตัวหนังที่กำลังจะเริ่มถ่ายทำมากกว่าจะ เน้นการแบ่งงาน
2.เตรียมงานแบบหนังใหญ่ อันนี้เหมาะสำหรับหนังสั้นลงทุนๆ หน่อย หลักหมื่นขึ้นไป จะคล้ายๆ แบบแรกแต่ขั้นตอนเยอะกว่า ประมาณว่านอกจากวางแผนวันเตรียมงาน วันประชุม รวมไปถึงวันถ่าย ก็ยังจะมีการแบ่งการประชุมเป็นฝ่ายอาร์ตมาคุยกับผู้กำกับก่อน ฝ่ายกล้องค่อยมาคุยอีกรอบเรื่องมุมภาพ แยกเป็นส่วนๆ ไปแล้วถึงเมื่อหาทีมงานได้ครบในทุกตำแหน่งแล้วถึงค่อยเรียกประชุมทีมงานทั้ง หมด อาจจะมีการ Read throught หรือการอ่านบททั้งเรื่องดูหนึ่งรอบเพื่อเช็คว่าทีมงานมีอะไรสงสัยในบท ภาพยนตร์หรือไม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน จากนั้นถึงค่อยแยกย้ายไปพัฒนางานของแต่ล่ะฝ่าย
ถ้าอย่างฝ่ายศิลป์ นอกจากรับคำสั่งจากผู้กำกับ ก็จะต้องคอยมาขายงาน ด้วยการสเก็ตภาพตัวอย่างของฉากที่จะจัดว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร นำภาพตัวอย่างของสิ่งที่จะประกอบฉากมาให้ผู้กำกับดูก่อน และการขายงานอาจจะมีมากกว่าหนึ่งรอบ จนกว่าจะโดนใจผู้กำกับถึงเริ่มต้นลงมือจัดฉากได้อย่างแท้จริง อาจจะมีการต้องลองเสื้อหรือ Fitting ว่าเสื้อผ้าของนักแสดงนั้นนักแสดงใส่แล้วโอเคไหมอึดอัดหรือเปล่า แล้วโทนสีมันดูเหมาะกับภาพรวมของหนังหรือเปล่า ถ้าไม่ก็ต้องทำการแก้ไขจนกว่าจะได้เสื้อผ้าที่เหมาะสมแก่นักแสดงและตัวหนัง
การ เตรียมงานในแบบนี้ ก็จะต้องมีโปรดิวเซอร์ครับ แล้วโปรดิวเซอร์ทำอะไรล่ะ? ก็คอยดูแลควบคุมให้การผลิตหนังสั้นเรื่องนี้ออกมาได้ราบรื่น คอยช่วยผู้กำกับแก้ไขปัญหาร้อยแปด และช่วยดูแลให้งบประมาณในการสร้างไม่บานปลายออกไป แต่ขณะเดียวกันผู้กำกับก็จะยังคงได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการอยู่
ไม่ ว่าคุณจะเตรียมงานแบบใหญ่ๆ หรือเล็กๆ ข้อสำคัญคือ ในฐานะของผู้กำกับ คุณจะต้องตรวจดูว่างานที่คุณได้มอบหมายทีมงานฝ่ายต่างๆ ไปนั้นมีรายละเอียดมากพอที่จะให้ทีมงานสามารถนำเอาไปใช้ทำงานได้แค่ไหน เพราะนั้นจะเป็นเครื่องชี้วัดว่าหนังของคุณจะออกมาได้อย่างที่คุณคาดหวังเอา ไว้หรือเปล่า และถ้าหากรู้สึกว่ายังไม่พร้อมกัน ก็เลื่อนการถ่ายทำออกไปก่อน จนพร้อมจริงๆ ถึงค่อยลงมือ
และเมื่อทุกอย่างพร้อม ก็คงจะถึงเวลาแล้วสำหรับการ “เปิดกล้อง”
เมื่อต้องเริ่มต้น “เดินกล้อง”
สิ่ง หนึ่งที่ผู้กำกับจะต้องเตรียมตัวก่อนวันถ่ายทำหนึ่งวันก็คือ พักผ่อนให้เพียงพอเสียก่อน ผมเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะมีแน่ อาการที่แบบว่าวิตกกังวล คิดไปเรื่อยว่า “เอ๋ พรุ่งนี้มันจะเจอกับปัญหาแบบนี้ไหมนะ?” หรือว่า “เอ๋ พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือเปล่า?” คุณจะต้องตัดความกังวลทิ้งไป การที่คุณมานั่งเครียดจนถึงกับไม่หลับไม่นอนนั้นไม่ช่วยอะไรเลย ปัญหาใดเมื่อมันจะต้องเกิดมันก็เกิดขึ้นจนได้ ไม่ว่าเราจะเตรียมตัวมาสมบูรณ์พร้อมแค่ไหนก็ตาม การมาก่ายหน้าผากตั้งแต่มันยังไม่เกิดไม่ได้ช่วยอะไร หนำซ้ำยังทำให้เป็นผลร้ายต่อสุขภาพของตัวคุณเองเสียอีก ดังนั้น ก่อนอื่นเลยคุณจะต้องรู้จักปล่อยใจตัวเองให้สบายเสียก่อน
เมื่อเช้า วันแรกของการถ่ายทำมาถึง สิ่งหนึ่งที่คุณควรจะทำ (แต่จะทำหรือไม่ทำก็ได้นะครับ) ก็คือการทำพิธีบวงสรวงเปิดกล้อง แบบที่เราเห็นพวกกองถ่ายหนังกองถ่ายละครทำ แล้วเชิญนักข่าวมาร่วมงานด้วยน่ะแหละครับ เพียงแต่ว่าในฐานะที่เป็นหนังสั้น คุณไม่จำเป็นจะต้องจัดพิธีให้ใหญ่โตก็ได้ อย่างแค่ทำบุญตักบาตร หรือไหว้เจ้าที่เจ้าทาง เพื่อความเป็นสิริมงคลและความสบายใจของทีมงาน โดยหวังว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยคุ้มครองให้การถ่ายทำลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่เกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมา
ก่อนหนังจะเริ่มถ่าย บางทีผู้กำกับก็อาจจะพูดคุยอะไรกับทีมงานนิดหนึ่ง แบบกึ่งๆ การปลุกใจเล็กน้อย แต่ก็ไม่ถึงกับต้องฮึกเหิมอะไร แต่เป็นในลักษณะให้กำลังใจซึ่งกันและกันมากกว่า เมื่อว่ากันถึง “หน้าที่”
กองถ่ายหนังทุกกองมีคนในตำแหน่งหน้าที่แตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งแยกย่อยได้เป็นดังนี้ครับ
1.ผู้ กำกับ คนนี้สำคัญที่สุด นั้นก็คือคุณน่ะแหละครับ ก่อนหน้านี้ก็เกริ่นมาเล็กน้อยครับว่าผู้กำกับต้องทำอะไรบ้าง แต่นั้นเป็นในส่วนของการเตรียมตัวและเตรียมงาน แต่เมื่อมาอยู่หน้ากอง ผู้กำกับคือผู้ที่กำหนดทิศทางของหนังให้เป็นไปตามใจที่เขาหรือเธอผู้นั้น ต้องการ
โดยสิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับแต่ล่ะคนจำเป็นจะต้องมี ขาดไปไม่ได้เป็นอันขาด นั่นคือสมาธิครับ การจิตจดจ่ออยู่กับงานที่ทำอยู่ตรงหน้า งานที่ว่านั้นก็หมายถึง คอยควบคุมนักแสดง กำกับให้เขาแสดงได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นไปตามบทบาทที่เราได้สร้างขึ้น และยังรวมไปถึงงานอื่นๆ เช่น การดูว่าตากล้องสามารถถ่ายภาพวางมุมกล้องออกมาได้อย่างที่เคยมีการตกลงกัน ก่อนหน้านี้ไหม หรือว่าเสียงโอเคหรือเปล่า ตัวละครมีบทพูดตรงตามที่เขียนไว้ไหม? จงจำไว้นะครับว่าจะต้องมีสมาธิอยู่ตลอดระหว่างการทำงาน หายไปไม่ได้เลย
อีก อย่างที่ต้องมีนอกเหนือจากสมาธิก็คือความใจเย็นครับ เพราะบางครั้งที่นักแสดงอาจจะแสดงไม่ได้ดั่งใจ หรือของประกอบฉากหาย ทางทีมศิลป์ต้องวิ่งไปหาเอาใช้เวลานาน ไหนจะพวกเสียงรถยนต์วิ่งผ่านโลเคชั่นต้องรอให้เงียบเสียงไปเสียก่อน เจอแบบนี้หากคนไม่อดทนก็มีสิทธิ์น็อตหลุดเอาได้ง่ายๆ เหมือนกัน ฉะนั้นต้องอาศัยเอาน้ำเย็นเข้าลูบตัวเองไว้ตลอดครับ คอยเตือนตัวเองว่า โกรธคือโง่โมโหคือบ้า และการแสดงอารมณ์เสียใส่ใครต่อใครในกองถ่าย อาจจะทำให้ทุกๆ คนในกองถ่ายเกิดอาการจิตตกด้วยกันทั่วหน้า พลอยทำให้บรรยากาศในกองถ่ายเปี่ยมไปด้วยความมาคุ เครียดกันไปหมด แบบนี้ไม่ดีแน่ครับ งานอาจจะยังคงเดินอยู่ แต่สำหรับการที่ต้องร่วมมือกันโดยอาศัยความถ้อยทีถ้อยอาศัย หากไร้ซึ่งตรงนี้แล้วต่อไปโอกาสจะกลับมาร่วมงานกันได้อีกก็คงเป็นไปได้ยาก น่ะครับ เลิกงานแล้วยังยิ้มกันได้จะดีกว่า...(โปรดติดตามตอนต่อไป)
_________________
ข้อมูลจาก www.thaishortfilm.com